804501.Siriratt
วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
What did I learn on youtube # 7
กลยุทธ์ " แบรนด์ " คืออะไร
แบรนด์ คือ
- โลโก้
- สโลแกน
- เครื่องหมาย
- ชื่อ
แต่แบรนด์ยังเป็นมากกว่านี้
- ความรู้สึก
- สัญญา
- ประสบการณ์
- สมาคม
- ความสัมพันธ์
- ภาพลักษณ์
- เรื่องราว
- รับประกัน
- ข่าวลือ
- ตำนาน
- พฤติกรมม
- อุดมการณ์
- การรับรู้
แบรนด์คือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด
กลยุทธ์แบรนด์ คือ ... การสร้าง และ มีอิทธิพลต่อแบรนด์ ... รอบคอบ, จงใจ, ความคิด กับมุมมองขององค์กร
จะทำกลยุทธ์แบรนด์ได้อย่างไร?
1. ร่วมกันทุกคนในการพยายามสร้างตราสินค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2. มีความชัดเจน สอคล้อง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
3. รับฟังความคิดเห็น (เปรียบเหมือนคนในครอบครัว)
4. ตรวจสอบข้อความให้แน่ใจและ สะท้อนความเป็นจริง
5. อยู่เน้นและในที่สุด
6. พยายามที่จะรักษาสัญญา แบรนด์ของคุณเอง
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555
What did I really on 28 January2012
Employer Branding
1.Pre-requisites for Successful Employer Branding
- นิยามแบรนด์หลัก -- มันเริ่มต้นด้วยคำสั่งที่ชัดเจนของสำคัญแบรนด์ของ บริษัท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรและค่า ในเวลาเดียวกัน, การประเมินผลการระมัดระวังของสิ่งที่สำคัญที่สุดให้กับพนักงานการรับรู้ของพวกเขาในสิ่งที่แบรนด์หลักหมายถึงค่านิยมที่เกี่ยวข้องกับมันและความคาดหวังของพวกเขาจะช่วยสร้างคำอธิบายที่แบรนด์นายจ้างที่มีความเกี่ยวข้องและสร้างแรงบันดาลใจ
- การมีส่วนร่วมบริหารระดับสูง -- การสร้างตราสินค้านายจ้างก็จะไม่ทำงานโดยไม่มีการสนับสนุนของแท้สามารถมองเห็นได้ของซีอีโอ พวกเขาควรจะ"สดแบรนด์"เป็นอย่างดีและเป็นแบบอย่างที่น่าเชื่อถือสำหรับค่าเดียวกัน
-สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร -- ความสัมพันธ์ตามความจงรักภักดีที่เกิดขึ้นกับพนักงานควรจะมีรูปทรงที่จะส่งมอบในสัญญาแบรนด์ที่มีความสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรโดยรวมและเป็นชุดทั่วทุกหน่วยงานและ บริษัท ย่อย
- การเสริมสร้างศักยภาพของแรงงาน -- นายจ้างรายละเอียดพิมพ์เขียวสำหรับการสร้างตราสินค้าใหม่ทรัพยากรบุคคลและการริเริ่มการสื่อสารรวมถึงการสรรหาและโปรแกรมที่เก็บรักษาควรระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและความรับผิดชอบของพนักงานที่สำคัญ
-การตรวจวัดอย่างต่อเนื่องและการรับรู้ -- ความสำเร็จที่ชัดเจนและมาตรฐานการปฏิบัติงานแรงจูงใจและช่องทางสำหรับข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จ
2. Put Together a Team That Understands, Influences, and Experiences All Facets of Employer Branding and Your Employer Brand
การพัฒนาแบรนด์นายจ้างให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และทุกคนที่มีอิทธิพลต่อแบรนด์นายจ้างของคุณในขั้นตอนการสร้างตราสินค้า การสร้างแบรนด์นายจ้างต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดทุกแง่มุม จากประสบการณ์ในการทำงานให้องค์กรของคุณและทำให้แน่ใจว่าคุณได้สร้างประสบการณ์ที่นำไปสู่นายจ้างในทางชื่อเสียง และทุกแง่มุมต่างๆ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแบรนด์นายจ้างของคุณคุณจะต้องเกี่ยวข้องกับคนที่เป็นตัวแทนของมุมมองที่แตกต่างกันเหล่านี้ ที่คุณต้องการรวมหนึ่งหรือหลายบุคคลที่เป็นตัวแทนของทรัพยากรมนุษย์การจัดการจากทุกระดับการประชาสัมพันธ์การขายและการตลาด, การบริการลูกค้า, ทรัพยากรมนุษย์และ frontline แรงงาน การสร้างตราสินค้าที่มีประสิทธิภาพนายจ้างยังเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาและมุมมอง
3. Become an Expert on Your Target Market
แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยความสนิทสนมของลูกค้า ที่แข็งแกร่งของแบรนด์ ผู้จัดการแบรนด์จะเข้าใจถึงหัวใจและจิตใจของลูกค้าดีที่สุด
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555
ความรู้ที่ได้จากการดูวิดีโอ ของคุณ จารุนันท์ อิทธิอาวัชกูล
การขับเคลื่อนแกนหลักของงาน HR ทั้ง 4 ด้าน คือ
· attraction
· retention
· development
· engagement
ไปอย่างพร้อมเพรียงกันเพราะคน ย่อมไม่เคยต้องการอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งแต่กลับต้องการอะไรหลายต่อหลายอย่างในเวลาเดียวกัน จึงเป็นเรื่ององค์รวม ซึ่งบางครั้งหากแผนเวิร์คก็กลายเป็นส่งผลดีแบบดับเบิ้ล เช่น การออกกติกาใหม่โดยกำหนดให้พนักงานต้องลาหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน เพื่อมุ่งในเรื่อง engagement เท่านั้น ก็กลายเป็นได้ประโยชน์อีกหลายเรื่องหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการพิสูจน์ความโปร่งใสในหน้าที่ ทำให้บริษัทตรวจสอบได้ว่า ..ที่ผ่านมาคุณนั่งทับอะไรไว้หรือไม่ /code of conduct คุณเป็นอย่างไร /Successor ในฝ่ายในแผนกนี้มีจริงหรือ/ หัวหน้าหรือลูกน้องเก่งจริงหรือไม่เมื่ออีกฝ่ายไม่ได้ช่วยทำงาน ฯลฯ
" สิ่งที่น่าหนักใจที่สุดคือ engagement เพราะการเป็น Employer of Choice เป็นโจทย์ที่ยาก ตามทฤษฎีแล้ว engagement หมายถึงการที่เราทำให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานแบบเกินหน้าที่ และจะทำให้เกิดขึ้นได้ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ งานต้องน่าสนใจ ต้องได้รับการยกย่องเชิดชู ได้รับการพัฒนาความความรู้ความสามารถ และได้รับผลตอบแทนที่เข้าท่า"
ซึ่งค่านิยมซึ่งเป็นธรรมนูญหลักขององค์กรก็คือ Triple I ที่ย่อมาจากคำที่มีตัว I นำหน้าได้แก่
· Individual Talents
" สิ่งที่น่าหนักใจที่สุดคือ engagement เพราะการเป็น Employer of Choice เป็นโจทย์ที่ยาก ตามทฤษฎีแล้ว engagement หมายถึงการที่เราทำให้พนักงานมุ่งมั่นทำงานแบบเกินหน้าที่ และจะทำให้เกิดขึ้นได้ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ งานต้องน่าสนใจ ต้องได้รับการยกย่องเชิดชู ได้รับการพัฒนาความความรู้ความสามารถ และได้รับผลตอบแทนที่เข้าท่า"
ซึ่งค่านิยมซึ่งเป็นธรรมนูญหลักขององค์กรก็คือ Triple I ที่ย่อมาจากคำที่มีตัว I นำหน้าได้แก่
· Individual Talents
· Idea Generations
· Infinite Changes
"Triple I เป็นลองเทอม ขณะที่เราก็อาจมีการปรับคุณลักษณะของตัวI แต่ละตัวให้เข้าหรือเหมาะกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ด้วยยุคนี้การแข่งขันจะพิสูจน์ผลชนะหรือแพ้กันที่ ใครคิดก่อน ใครคิดเก่ง ใครคิดเร็ว ดังนั้นนวัตกรรมจึงกลายเป็นคำตอบเลยต้องโฟกัสแบบสุดๆ
"Triple I เป็นลองเทอม ขณะที่เราก็อาจมีการปรับคุณลักษณะของตัวI แต่ละตัวให้เข้าหรือเหมาะกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ด้วยยุคนี้การแข่งขันจะพิสูจน์ผลชนะหรือแพ้กันที่ ใครคิดก่อน ใครคิดเก่ง ใครคิดเร็ว ดังนั้นนวัตกรรมจึงกลายเป็นคำตอบเลยต้องโฟกัสแบบสุดๆ
What did I learn on youtube # 6
5 กลยุทธ์ของการสรรหา
- การวิเคราะห์งาน
การสรรหาบุคคลเข้าทำงานเกี่ยวพันโดยตรงกับลักษณะงานที่ต้องทำ ลักษณะการวิเคราะห์งาน ขณะนี้งานอะไรที่จะต้องปฏิบัติเพื่อที่จะให้หน่วยงานหรือองค์การบรรลุเป้าหมายได้ตรงตาม วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย และมีงานในลักษณะใดบ้างจะต้องถูกปฏิบัติ การวิเคราะห์งานจะบอกได้ว่าลักษณะงานแต่ละชิ้นจะมีแนวการปฏิบัติเช่นใดมีขอบเขตของงานอย่างไร ระยะของงานมีความเกี่ยวพันกับงานอื่นอย่างไร
- การวางแผนสถานการณ์
คือผลลัพธ์ของการวิเคราะห์งานเรียงลำดับความสำคัญของผลงานต่างๆ ลักษณะงานใดๆเมื่อลงมือปฏิบัติจะต้องมีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติตามความเหมาะสม ในขอบเขตของงานในคำบรรยายลักษณะงานนั่นเอง การสรรหาบุคลากรประเมินผลบุคคลต้องคำนึงถึงคำบรรยายลักษณะงาน
- การเลือก การจัดเตรียม
คุณสมบัติของผู้ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติงานนั้นๆ จะมีการเชื่อมโยงการวิเคราะห์ลักษณะงานสู่การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ามาปฏิบัติงาน เตรียมการชี้เฉพาะงานหมายถึงการทราบคุณสมบัติของตัวบุคคลที่จะปฏิบัติงานต้องเตรียมทรัพยากรมนุษย์เข้ามาปฏิบัติการ เป็นขั้นวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง
- การเสาะหา
การเสาะหาทำการประกาศสมัครงาน สืบเสาะแหล่งสถานศึกษา ข้อบกพร่องของการแสวงตัวบุคคลในสถานศึกษาคือ จะด้อยในประสบการณ์ ในอีกแง่หนึ่งอาจตรวจสอบดูใบสมัครงานซึ่งได้เก็บรวบรวมไว้ในแหล่งสุดท้ายคือ บุคคลซึ่งมีอยู่แล้วในองค์กร
- การดำเนินการ
1.เสาะแสวงหาโดยการสัมภาษณ์เบื้องต้น
2.การยื่นใบสมัครต้องตรวจสอบดูข้อความต่างๆ ในใบสมัครอย่างละเอียดว่าเหมาะสมที่ดำเนินการต่อไปไหม
3. ตรวจสอบถึงผู้ที่อ้างอิงได้ ว่าข้อมูลในตัวบุคคลที่มาสมัครงานคุณสมบัติทั้งในเรื่องส่วนตัว และ เรื่องปฏิบัติงาน
4.ทดสอบทางด้านจิตวิทยาว่ามีความเหมาะสมกับงานมากน้อยเพียงใด เพราะการทดสอบทางจิตวิทยามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประกอบการพิจารณา
- เป็นการทดสอบสติปัญญา คือ ดูความฉับไวในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การเผชิญกับปัญหา
- ความถนัดเฉพาะเรื่องหรือ ความถนัดในการสร้างสรรค์ริเริ่มต่าง เพื่อให้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับความสามารถของตน
- ความสนใจในการทำงาน
- ทดสอบบุคลิกภาพ
5. การสัมภาษณ์เพื่อที่จะจ้างงาน การที่จะสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ต้องใช้ผู้สัมภาษณ์ที่ได้รับการฝึกอบรมในหลักการพอสมควร
What did I really on 21 January 2012
การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน
หลังจากที่เรามีการจัดการโครงสร้างองค์การออกมาได้รูปแบบที่เหมาะสมแล้ว ในที่สุดเราก็จะต้องได้เห็นว่าองค์การของเรามีตำแหน่งงานใดเกิดขึ้นบ้าง และมีความต้องการกำลังคนเพื่อเข้าร่วมในตำแหน่งงานนั้นๆ เป็นจำนวนเท่าไร และก็มาถึงขั้นตอนของการจัดหาคนมาลงให้เหมาะสมตามตำแหน่งงานนั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการสรรหา คัดเลือกเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผลตรงตามที่องค์การปรารถนาได้นั้น
ลำดับแรก ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานที่ต้องรับผิดชอบทำในตำแหน่งนั้นๆ ได้อย่างชัดเจนเสียก่อน นั่นคือต้องมีการทำ คำอธิบายงาน (Job description) ตามตำแหน่งออกมาอย่างละเอียด
ลำดับต่อไปต้องระบุคุณสมบัติของคนที่คิดว่าจะสามารถทำงานตามที่คำอธิบายงานระบุได้เป็นอย่างดี คุณสมบัติที่สำคัญได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา สาขาที่สำเร็จการศึกษา ประสบการณ์ ความชำนาญ ความสามารถเฉพาะ หรือความสามารถพิเศษ เป็นต้น
ก่อนจะเข้าสู่ระบบการคัดเลือก ที่จริงต้องกล่าวถึงวิธีการสรรหาบุคลากรก่อน เพราะการใช้วิธีการสรรหาที่ถูกต้อง ก็ทำให้เรามุ่งเข้าสู่บุคลากรตามที่เราปรารถนาได้โดยง่ายและตรงเป้า เป็นขั้นพื้นฐานที่จะได้พบกับบุคลากรที่ดีต่อไป วิธีการในการสรรหาบุคลากรก็ทำได้หลายวิธีได้แก่
1. สรรหาบุคคลจากภายในองค์การ การสรรหาโดยวิธีนี้นับว่าเป็นผลดีในด้านที่จะทำนุบำรุง และส่งเสริมกำลังใจในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงาน และมีความจงรักภักดีต่อองค์การมากขึ้น ตามวิธีการนี้คือ เลือกสรรด้วยวิธีคัดเลือกหรือเลื่อนชั้นบุคคลในองค์การ โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสม วิธีการเช่นนี้มีกระทำอยู่ทั่วไปในวงราชการ เช่น การสอบเลื่อนชั้น จากชั้นจัตวาเป็นชั้นตรีหรือจากชั้นตรีเป็นชั้นโท และ/หรือจากชั้นโทเป็นชั้นเอก เป็นต้น
2. สรรหาบุคคลจากภายนอกองค์การ วิธีการนี้เป็นการสรรหาบุคคลจากที่อื่นเข้ามาปฏิบัติงานในองค์การ และวิธีนี้อาจจะทำได้อย่างกว้างขวาง เช่น การรับโอนข้าราชการจากหน่วยสังกัดอื่นที่มีความรู้ความสามารถดี เข้ามาปฏิบัติงานในองค์การของเราเอง วิธีการเช่นนี้ เจ้าสังกัดเดิมมักไม่เต็มใจที่จะให้โอนบุคคลที่มีความรู้ความสามารถดีไปปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดี วิธีการนี้หากผู้ที่จะโอนสามารถได้เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ผู้บังคับบัญชาก็มักจะยินยอมให้โอน เพราะเป็นความก้าวหน้าของผู้นั้น
หลังจากที่เรามีการจัดการโครงสร้างองค์การออกมาได้รูปแบบที่เหมาะสมแล้ว ในที่สุดเราก็จะต้องได้เห็นว่าองค์การของเรามีตำแหน่งงานใดเกิดขึ้นบ้าง และมีความต้องการกำลังคนเพื่อเข้าร่วมในตำแหน่งงานนั้นๆ เป็นจำนวนเท่าไร และก็มาถึงขั้นตอนของการจัดหาคนมาลงให้เหมาะสมตามตำแหน่งงานนั้นๆ ก่อนที่จะดำเนินการสรรหา คัดเลือกเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ประสิทธิผลตรงตามที่องค์การปรารถนาได้นั้น
ลำดับแรก ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับงานที่ต้องรับผิดชอบทำในตำแหน่งนั้นๆ ได้อย่างชัดเจนเสียก่อน นั่นคือต้องมีการทำ คำอธิบายงาน (Job description) ตามตำแหน่งออกมาอย่างละเอียด
ลำดับต่อไปต้องระบุคุณสมบัติของคนที่คิดว่าจะสามารถทำงานตามที่คำอธิบายงานระบุได้เป็นอย่างดี คุณสมบัติที่สำคัญได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา สาขาที่สำเร็จการศึกษา ประสบการณ์ ความชำนาญ ความสามารถเฉพาะ หรือความสามารถพิเศษ เป็นต้น
ก่อนจะเข้าสู่ระบบการคัดเลือก ที่จริงต้องกล่าวถึงวิธีการสรรหาบุคลากรก่อน เพราะการใช้วิธีการสรรหาที่ถูกต้อง ก็ทำให้เรามุ่งเข้าสู่บุคลากรตามที่เราปรารถนาได้โดยง่ายและตรงเป้า เป็นขั้นพื้นฐานที่จะได้พบกับบุคลากรที่ดีต่อไป วิธีการในการสรรหาบุคลากรก็ทำได้หลายวิธีได้แก่
1. สรรหาบุคคลจากภายในองค์การ การสรรหาโดยวิธีนี้นับว่าเป็นผลดีในด้านที่จะทำนุบำรุง และส่งเสริมกำลังใจในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงาน และมีความจงรักภักดีต่อองค์การมากขึ้น ตามวิธีการนี้คือ เลือกสรรด้วยวิธีคัดเลือกหรือเลื่อนชั้นบุคคลในองค์การ โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสม วิธีการเช่นนี้มีกระทำอยู่ทั่วไปในวงราชการ เช่น การสอบเลื่อนชั้น จากชั้นจัตวาเป็นชั้นตรีหรือจากชั้นตรีเป็นชั้นโท และ/หรือจากชั้นโทเป็นชั้นเอก เป็นต้น
2. สรรหาบุคคลจากภายนอกองค์การ วิธีการนี้เป็นการสรรหาบุคคลจากที่อื่นเข้ามาปฏิบัติงานในองค์การ และวิธีนี้อาจจะทำได้อย่างกว้างขวาง เช่น การรับโอนข้าราชการจากหน่วยสังกัดอื่นที่มีความรู้ความสามารถดี เข้ามาปฏิบัติงานในองค์การของเราเอง วิธีการเช่นนี้ เจ้าสังกัดเดิมมักไม่เต็มใจที่จะให้โอนบุคคลที่มีความรู้ความสามารถดีไปปฏิบัติงาน อย่างไรก็ดี วิธีการนี้หากผู้ที่จะโอนสามารถได้เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ผู้บังคับบัญชาก็มักจะยินยอมให้โอน เพราะเป็นความก้าวหน้าของผู้นั้น
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555
What did I learn on youtube # 5
สมรรถนะ Competency
คือ ความรู้ ทักษะ และพฤตินิสัยที่จำเป็นต่อ การทำงานของบุคคล
ให้ประสบผลสำเร็จสูง กว่ามาตรฐานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการดังนี้
- ความรู้ (Knowledge)
คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “รู้”
เช่นความรู้ความเข้าใจในกฎหมายปกครอง
- ทักษะ (Skill)
คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “ทำ”
เช่นทักษะด้าน ICT ทักษะด้านเทคโนโลยีการบริหารสมัยใหม่
เป็นสิ่งที่ต้องผ่าน การเรียนรู้ และฝึกฝนเป็นประจำจนเกิดเป็นความชำนาญในการใช้งาน
- พฤตินิสัยที่พึงปรารถนา
(Attributes) คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “เป็น”
เช่น ความใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรักในองค์กร
และความมุ่งมั่นในความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้จะอยู่ลึกลงไปในจิตใจ
ต้องปลูกฝังสร้างยากกว่าความรู้และทักษะ แต่ถ้าหากมีอยู่แล้ว
จะเป็นพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรมที่องค์กรต้องการ
ในการพัฒนาระบบสมรรถนะนั้นจะต้องมีกรอบแนวคิดพื้นฐานและที่มา
ดังนั้นการกำหนด ระบบสมรรถนะนั้นเราจะต้องกำหนดมาจากวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ
(Mission )
ยุทธศาสตร์ (Strategy) ค่านิยม (Value)
วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) หรือพฤติกรรมที่องค์กร
คาดหวัง/ปรารถนาให้บุคลากรประพฤติปฏิบัติ (Behavior Desirable) หลังจากนั้นจึงกำหนด
สมรรถนะขององค์กร (Organizational Competency) หรือทิศทาง
เป้าหมาย ที่องค์การต้องการ
บรรลุเพื่อสร้างความแตกต่างหรือโดดเด่นกว่าองค์กรคู่แข่ง
เมื่อกำหนดสมรรถนะขององค์กรแล้ว
ในขั้นตอนต่อมาเราต้องกำหนดสมรรถนะของบุคลากร (Employee Competency) ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะหลัก
(Core Competency) สมรรถนะตามสาย วิชาชีพ (Functional
Competency) สมรรถนะร่วมของทุกตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ (Common
Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ
(Specific Functional Competency)
ขั้นสุดท้ายก็คือการนำระบบสมรรถนะไปเป็นพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรบุคคลใน
ด้านต่างๆ ขององค์กร เช่น การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การวางแผนการสืบทอด
ตำแหน่ง และการจ่ายค่าตอบแทน เป็นต้น
เมื่อบุคลากรขององค์กรมีสมรรถนะสูงขึ้นก็จะทำให้ ปฏิบัติงานได้บรรลุผลสำเร็จ
สุดท้ายก็จะส่งผลให้องค์กรมีผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จ (Excellence
Performance)
ควรเปลี่ยนแปลงสมรรถนะเมื่อไร
เมื่อองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์
พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและวัฒนธรรมของ องค์กรใหม่
ดังนั้นเราก็ควรปรับปรุงสมรรถนะให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อภารกิจ บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ
และลักษณะงานของหน่วยงาน/องค์กร เปลี่ยนแปลง เมื่อบุคลากรสามารถแสดงพฤติกรรมในระดับนั้นๆ
หรือสมรรถนะนั้นๆ ได้สมบูรณ์แล้ว
ระบบการบริหารผลงาน(Performance
Management System)
“ระบบการบริหารผลงาน (Performance
Management System)” การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนคำพูดเพียงอย่างเดียว
แต่แนวคิดก็เปลี่ยนไปด้วย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเก่ากับระบบการบริหารผลงานแบบใหม่ดังนี้
ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเก่า
(Performance Appraisal/Evaluation)
|
ระบบการบริหารผลงานแบบใหม่
(Performance Management System)
|
ประเมินผลเป็นรายบุคคล
|
บริหารผลงานโดยรวมขององค์กร หน่วยงาน
และบุคคล
|
ประเมินผลงานในระยะสั้น (ปีต่อปี)
|
บริหารผลงานในระยะยาว (เป้าหมายแต่ละปีมีความสัมพันธ์กัน)
|
เน้นขั้นตอนการประเมิน (Method)
|
เน้นกระบวนการประเมิน (Process)
|
หัวข้อการประเมินเหมือนๆกันทุกตำแหน่ง
|
หัวข้อการประเมินแตกต่างกันในแต่ละตำแหน่งงาน
|
ผู้ประเมินมีอิสระในการกำหนดเป้าหมาย
|
เป้าหมายของทุกตำแหน่งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในระดับองค์กร
|
เน้นการประเมินผลงานเพียงอย่างเดียว
|
มุ่งเน้นการพัฒนาคนและการวัดผลของงานควบคู่กันไป
|
ประเมินพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว
|
ประเมินทั้งผลของงานและความสามารถคนที่สอดคล้องกับงาน
|
ใช้ความรู้สึกในการประเมิน
|
มีตัวเลขที่สามารถวัดได้
|
ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมน้อย
|
ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
|
นำผลที่ได้ไปในการปรับค่าจ้างหรือจ่ายโบนัสเพียงอย่างเดียว
|
นำผลที่ได้ไปใช้ในการบริหารผลตอบแทน
การพัฒนาคน และปรับปรุงระบบการบริหารงาน
|
จากตารางนี้จะพบว่าระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงส่วนย่อยของระบบการบริหารผลงาน
ดังนั้น
การที่เราจะพัฒนาระบบการประเมินผลในปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารผลงานนั้น
ควรจะดำเนินการดังนี้
1. สร้างความตระหนักต่อปัญหาให้ผู้บริหารรับทราบ องค์กรใดที่ผู้บริหารยังไม่รู้สึกว่าระบบประเมินผลการปฏิบัติงานมีปัญหา
การจะทำการเปลี่ยนแปลงคงจะเป็นเรื่องยากพอสมควร ดังนั้น
เราจึงควรสร้างความตระหนักให้ผู้บริหารก่อน
โดยนำเอาผลการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของระบบการประเมินผลงานที่ใช้อยู่ไปชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหา
และที่สำคัญต้องชี้ประเด็นให้ตรงจุดของผู้บริหารนะครับ เช่น
องค์กรต้องปรับค่าจ้างให้กับคนที่ได้ผลงานดีจำนวนมาก
ในขณะที่ผลงานขององค์กรในปีนั้นไม่ดี
2. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบการประเมินผลงาน เพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งขององค์กรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหารผลงาน
จึงควรจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากทุกหน่วยงาน
และควรจะเป็นระดับหัวหน้าของหน่วยงาน
เพื่อให้ระบบที่เราจะออกแบบใหม่นั้นสามารถตอบสนองต่อทุกลักษณะงาน นอกจากนี้การตั้งคณะทำงานขึ้นมาถือเป็นการสลายปัญหาอุปสรรคในเรื่องการต่อต้านระบบใหม่ได้
เพราะหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานเป็นคณะกรรมการหมดแล้ว
โอกาสที่พนักงานจะต่อต้านก็มีน้อยลง
3. ฝึกอบรมคณะทำงาน การฝึกอบรมคณะทำงานควรจะเชิญวิทยากรจากภายนอกเข้ามา
หรือถ้าองค์กรใดมีความสามารถในการจ้างที่ปรึกษาเข้ามาให้คำปรึกษาก็ได้
แต่ประเด็นสำคัญของการฝึกอบรมคือ
เราต้องกำหนดแนวทางคร่าวๆก่อนว่าการฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นอย่างไร
สิ่งที่คาดหวังจากการฝึกอบรมคืออะไร
เพราะถ้าเราไม่สามารถขายไอเดียของระบบการบริหารผลงานให้กับคณะทำงานได้อย่างชัดเจนแล้ว
อาจจะมีปัญหาความไม่ชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ หรือการต่อต้านจากคณะทำงานบางคนได้
4. ออกแบบระบบการบริหารผลงาน การออกแบบระบบ
หมายถึง
การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่าผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหวังจากการทำงานของตำแหน่งงานนั้นคืออะไร
ที่เราเรียกว่า KRA (Key Results Area) และเราจะทราบได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการนั้นดีหรือไม่ดี
เราก็สามารถดูได้จากตัวชี้วัดผลงานหรือที่เรียกว่า KPI (Key
Performance Indicator) นอกจากนี้เราจะต้องทำการวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าความสามารถอะไรที่จะช่วยให้คนในตำแหน่งงานนั้นทำงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรต้องการ
ความสามารถตัวนี้เราเรียกว่า ความสามารถประจำตำแหน่งงาน (Job
Competency) นอกจากนี้การออกแบบระบบยังรวมถึงการออกแบบแบบฟอร์มในการประเมิน
ขั้นตอนการกำหนดและการกระจายเป้าหมาย การตรวจสอบและติดตามผลงาน
การฝึกอบรมผู้ประเมิน การสอนแนะ(Coaching) ระยะเวลาในการประเมิน
การนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารผลตอบแทนและการพัฒนาฝึกอบรม
5. ทดลองนำไปปฏิบัติ การนำเอาระบบการบริหารผลงานไปใช้ในองค์กร
ผมขอแนะนำให้เริ่มตั้งแต่ระดับผู้บริหารก่อนจะดีกว่า
เพราะในระดับเราสามารถกำหนดตัวชี้วัดต่างๆได้ชัดเจนกว่า
รวมถึงถ้าผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจจากการที่ได้นำมาใช้งานจริงแล้ว
เมื่อถึงเวลานำไปใช้กับพนักงานในระดับอื่นๆ ก็จะทำให้ง่ายขึ้น
เพราะผู้บริหารแต่ละหน่วยงานสามารถชี้แนะให้กับลูกน้องของตัวเองได้ บางองค์กรอาจจะนำระบบฯใหม่ไปใช้ควบคู่กับระบบเก่าเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นก็ได้
6. ปรับปรุงแก้ไขระบบ ในระหว่างที่นำไปทดลองใช้ควรจะกำหนดประเด็นต่างๆที่ต้องการตรวจสอบให้ชัดเจน
และควรจะมีการติดตามผลเพื่อรับทราบถึงปัญหาอุปสรรคเป็นระยะๆ
เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา
7. สื่อสาร/ฝึกอบรมให้พนักงานได้รับทราบ ก่อนที่จะนำระบบการบริหารผลงานไปใช้ทั่วทั้งองค์กร
ควรจะมีการทำความเข้าใจกับพนักงานทุกคนว่าระบบนี้มีผลดีต่อตัวพนักงาน
ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง พนักงานต้องเตรียมตัวอย่างไร
และต้องพยายามให้พนักงานเปลี่ยนทัศนคติจากการประเมินผลงานของแต่ละบุคคลไปสู่การบริหารผลงานของหน่วยงานและองค์กร
หน่วยงานใดสามารถออกแบบผลตอบแทนให้เชื่อมโยงกับผลงานได้ก็จะเป็นการดีที่จะได้ถือโอกาสชี้แจงพนักงานไปในคราวเดียวกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)