5 กลยุทธ์ของการสรรหา
- การวิเคราะห์งาน
การสรรหาบุคคลเข้าทำงานเกี่ยวพันโดยตรงกับลักษณะงานที่ต้องทำ ลักษณะการวิเคราะห์งาน ขณะนี้งานอะไรที่จะต้องปฏิบัติเพื่อที่จะให้หน่วยงานหรือองค์การบรรลุเป้าหมายได้ตรงตาม วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย และมีงานในลักษณะใดบ้างจะต้องถูกปฏิบัติ การวิเคราะห์งานจะบอกได้ว่าลักษณะงานแต่ละชิ้นจะมีแนวการปฏิบัติเช่นใดมีขอบเขตของงานอย่างไร ระยะของงานมีความเกี่ยวพันกับงานอื่นอย่างไร
- การวางแผนสถานการณ์
คือผลลัพธ์ของการวิเคราะห์งานเรียงลำดับความสำคัญของผลงานต่างๆ ลักษณะงานใดๆเมื่อลงมือปฏิบัติจะต้องมีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติตามความเหมาะสม ในขอบเขตของงานในคำบรรยายลักษณะงานนั่นเอง การสรรหาบุคลากรประเมินผลบุคคลต้องคำนึงถึงคำบรรยายลักษณะงาน
- การเลือก การจัดเตรียม
คุณสมบัติของผู้ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติงานนั้นๆ จะมีการเชื่อมโยงการวิเคราะห์ลักษณะงานสู่การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ามาปฏิบัติงาน เตรียมการชี้เฉพาะงานหมายถึงการทราบคุณสมบัติของตัวบุคคลที่จะปฏิบัติงานต้องเตรียมทรัพยากรมนุษย์เข้ามาปฏิบัติการ เป็นขั้นวางแผนทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง
- การเสาะหา
การเสาะหาทำการประกาศสมัครงาน สืบเสาะแหล่งสถานศึกษา ข้อบกพร่องของการแสวงตัวบุคคลในสถานศึกษาคือ จะด้อยในประสบการณ์ ในอีกแง่หนึ่งอาจตรวจสอบดูใบสมัครงานซึ่งได้เก็บรวบรวมไว้ในแหล่งสุดท้ายคือ บุคคลซึ่งมีอยู่แล้วในองค์กร
- การดำเนินการ
1.เสาะแสวงหาโดยการสัมภาษณ์เบื้องต้น
2.การยื่นใบสมัครต้องตรวจสอบดูข้อความต่างๆ ในใบสมัครอย่างละเอียดว่าเหมาะสมที่ดำเนินการต่อไปไหม
3. ตรวจสอบถึงผู้ที่อ้างอิงได้ ว่าข้อมูลในตัวบุคคลที่มาสมัครงานคุณสมบัติทั้งในเรื่องส่วนตัว และ เรื่องปฏิบัติงาน
4.ทดสอบทางด้านจิตวิทยาว่ามีความเหมาะสมกับงานมากน้อยเพียงใด เพราะการทดสอบทางจิตวิทยามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อประกอบการพิจารณา
- เป็นการทดสอบสติปัญญา คือ ดูความฉับไวในการตัดสินใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การเผชิญกับปัญหา
- ความถนัดเฉพาะเรื่องหรือ ความถนัดในการสร้างสรรค์ริเริ่มต่าง เพื่อให้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับความสามารถของตน
- ความสนใจในการทำงาน
- ทดสอบบุคลิกภาพ
5. การสัมภาษณ์เพื่อที่จะจ้างงาน การที่จะสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ต้องใช้ผู้สัมภาษณ์ที่ได้รับการฝึกอบรมในหลักการพอสมควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น