สมรรถนะ Competency
คือ ความรู้ ทักษะ และพฤตินิสัยที่จำเป็นต่อ การทำงานของบุคคล
ให้ประสบผลสำเร็จสูง กว่ามาตรฐานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ประการดังนี้
- ความรู้ (Knowledge)
คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “รู้”
เช่นความรู้ความเข้าใจในกฎหมายปกครอง
- ทักษะ (Skill)
คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “ทำ”
เช่นทักษะด้าน ICT ทักษะด้านเทคโนโลยีการบริหารสมัยใหม่
เป็นสิ่งที่ต้องผ่าน การเรียนรู้ และฝึกฝนเป็นประจำจนเกิดเป็นความชำนาญในการใช้งาน
- พฤตินิสัยที่พึงปรารถนา
(Attributes) คือสิ่งที่องค์กรต้องการให้ “เป็น”
เช่น ความใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรักในองค์กร
และความมุ่งมั่นในความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้จะอยู่ลึกลงไปในจิตใจ
ต้องปลูกฝังสร้างยากกว่าความรู้และทักษะ แต่ถ้าหากมีอยู่แล้ว
จะเป็นพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรมที่องค์กรต้องการ
ในการพัฒนาระบบสมรรถนะนั้นจะต้องมีกรอบแนวคิดพื้นฐานและที่มา
ดังนั้นการกำหนด ระบบสมรรถนะนั้นเราจะต้องกำหนดมาจากวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ
(Mission )
ยุทธศาสตร์ (Strategy) ค่านิยม (Value)
วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) หรือพฤติกรรมที่องค์กร
คาดหวัง/ปรารถนาให้บุคลากรประพฤติปฏิบัติ (Behavior Desirable) หลังจากนั้นจึงกำหนด
สมรรถนะขององค์กร (Organizational Competency) หรือทิศทาง
เป้าหมาย ที่องค์การต้องการ
บรรลุเพื่อสร้างความแตกต่างหรือโดดเด่นกว่าองค์กรคู่แข่ง
เมื่อกำหนดสมรรถนะขององค์กรแล้ว
ในขั้นตอนต่อมาเราต้องกำหนดสมรรถนะของบุคลากร (Employee Competency) ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะหลัก
(Core Competency) สมรรถนะตามสาย วิชาชีพ (Functional
Competency) สมรรถนะร่วมของทุกตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ (Common
Functional Competency) และสมรรถนะเฉพาะตำแหน่งในกลุ่มงาน/สายวิชาชีพ
(Specific Functional Competency)
ขั้นสุดท้ายก็คือการนำระบบสมรรถนะไปเป็นพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรบุคคลใน
ด้านต่างๆ ขององค์กร เช่น การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การวางแผนการสืบทอด
ตำแหน่ง และการจ่ายค่าตอบแทน เป็นต้น
เมื่อบุคลากรขององค์กรมีสมรรถนะสูงขึ้นก็จะทำให้ ปฏิบัติงานได้บรรลุผลสำเร็จ
สุดท้ายก็จะส่งผลให้องค์กรมีผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย และประสบความสำเร็จ (Excellence
Performance)
ควรเปลี่ยนแปลงสมรรถนะเมื่อไร
เมื่อองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์
พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ค่านิยมและวัฒนธรรมของ องค์กรใหม่
ดังนั้นเราก็ควรปรับปรุงสมรรถนะให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
ค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อภารกิจ บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ
และลักษณะงานของหน่วยงาน/องค์กร เปลี่ยนแปลง เมื่อบุคลากรสามารถแสดงพฤติกรรมในระดับนั้นๆ
หรือสมรรถนะนั้นๆ ได้สมบูรณ์แล้ว
ระบบการบริหารผลงาน(Performance
Management System)
“ระบบการบริหารผลงาน (Performance
Management System)” การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนคำพูดเพียงอย่างเดียว
แต่แนวคิดก็เปลี่ยนไปด้วย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเก่ากับระบบการบริหารผลงานแบบใหม่ดังนี้
ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเก่า
(Performance Appraisal/Evaluation)
|
ระบบการบริหารผลงานแบบใหม่
(Performance Management System)
|
ประเมินผลเป็นรายบุคคล
|
บริหารผลงานโดยรวมขององค์กร หน่วยงาน
และบุคคล
|
ประเมินผลงานในระยะสั้น (ปีต่อปี)
|
บริหารผลงานในระยะยาว (เป้าหมายแต่ละปีมีความสัมพันธ์กัน)
|
เน้นขั้นตอนการประเมิน (Method)
|
เน้นกระบวนการประเมิน (Process)
|
หัวข้อการประเมินเหมือนๆกันทุกตำแหน่ง
|
หัวข้อการประเมินแตกต่างกันในแต่ละตำแหน่งงาน
|
ผู้ประเมินมีอิสระในการกำหนดเป้าหมาย
|
เป้าหมายของทุกตำแหน่งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในระดับองค์กร
|
เน้นการประเมินผลงานเพียงอย่างเดียว
|
มุ่งเน้นการพัฒนาคนและการวัดผลของงานควบคู่กันไป
|
ประเมินพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว
|
ประเมินทั้งผลของงานและความสามารถคนที่สอดคล้องกับงาน
|
ใช้ความรู้สึกในการประเมิน
|
มีตัวเลขที่สามารถวัดได้
|
ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมน้อย
|
ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
|
นำผลที่ได้ไปในการปรับค่าจ้างหรือจ่ายโบนัสเพียงอย่างเดียว
|
นำผลที่ได้ไปใช้ในการบริหารผลตอบแทน
การพัฒนาคน และปรับปรุงระบบการบริหารงาน
|
จากตารางนี้จะพบว่าระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงส่วนย่อยของระบบการบริหารผลงาน
ดังนั้น
การที่เราจะพัฒนาระบบการประเมินผลในปัจจุบันไปสู่ระบบการบริหารผลงานนั้น
ควรจะดำเนินการดังนี้
1. สร้างความตระหนักต่อปัญหาให้ผู้บริหารรับทราบ องค์กรใดที่ผู้บริหารยังไม่รู้สึกว่าระบบประเมินผลการปฏิบัติงานมีปัญหา
การจะทำการเปลี่ยนแปลงคงจะเป็นเรื่องยากพอสมควร ดังนั้น
เราจึงควรสร้างความตระหนักให้ผู้บริหารก่อน
โดยนำเอาผลการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของระบบการประเมินผลงานที่ใช้อยู่ไปชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหา
และที่สำคัญต้องชี้ประเด็นให้ตรงจุดของผู้บริหารนะครับ เช่น
องค์กรต้องปรับค่าจ้างให้กับคนที่ได้ผลงานดีจำนวนมาก
ในขณะที่ผลงานขององค์กรในปีนั้นไม่ดี
2. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบการประเมินผลงาน เพื่อให้คนกลุ่มหนึ่งขององค์กรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการบริหารผลงาน
จึงควรจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากทุกหน่วยงาน
และควรจะเป็นระดับหัวหน้าของหน่วยงาน
เพื่อให้ระบบที่เราจะออกแบบใหม่นั้นสามารถตอบสนองต่อทุกลักษณะงาน นอกจากนี้การตั้งคณะทำงานขึ้นมาถือเป็นการสลายปัญหาอุปสรรคในเรื่องการต่อต้านระบบใหม่ได้
เพราะหัวหน้าหน่วยงานทุกหน่วยงานเป็นคณะกรรมการหมดแล้ว
โอกาสที่พนักงานจะต่อต้านก็มีน้อยลง
3. ฝึกอบรมคณะทำงาน การฝึกอบรมคณะทำงานควรจะเชิญวิทยากรจากภายนอกเข้ามา
หรือถ้าองค์กรใดมีความสามารถในการจ้างที่ปรึกษาเข้ามาให้คำปรึกษาก็ได้
แต่ประเด็นสำคัญของการฝึกอบรมคือ
เราต้องกำหนดแนวทางคร่าวๆก่อนว่าการฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นอย่างไร
สิ่งที่คาดหวังจากการฝึกอบรมคืออะไร
เพราะถ้าเราไม่สามารถขายไอเดียของระบบการบริหารผลงานให้กับคณะทำงานได้อย่างชัดเจนแล้ว
อาจจะมีปัญหาความไม่ชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ หรือการต่อต้านจากคณะทำงานบางคนได้
4. ออกแบบระบบการบริหารผลงาน การออกแบบระบบ
หมายถึง
การวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่าผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหวังจากการทำงานของตำแหน่งงานนั้นคืออะไร
ที่เราเรียกว่า KRA (Key Results Area) และเราจะทราบได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการนั้นดีหรือไม่ดี
เราก็สามารถดูได้จากตัวชี้วัดผลงานหรือที่เรียกว่า KPI (Key
Performance Indicator) นอกจากนี้เราจะต้องทำการวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าความสามารถอะไรที่จะช่วยให้คนในตำแหน่งงานนั้นทำงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรต้องการ
ความสามารถตัวนี้เราเรียกว่า ความสามารถประจำตำแหน่งงาน (Job
Competency) นอกจากนี้การออกแบบระบบยังรวมถึงการออกแบบแบบฟอร์มในการประเมิน
ขั้นตอนการกำหนดและการกระจายเป้าหมาย การตรวจสอบและติดตามผลงาน
การฝึกอบรมผู้ประเมิน การสอนแนะ(Coaching) ระยะเวลาในการประเมิน
การนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารผลตอบแทนและการพัฒนาฝึกอบรม
5. ทดลองนำไปปฏิบัติ การนำเอาระบบการบริหารผลงานไปใช้ในองค์กร
ผมขอแนะนำให้เริ่มตั้งแต่ระดับผู้บริหารก่อนจะดีกว่า
เพราะในระดับเราสามารถกำหนดตัวชี้วัดต่างๆได้ชัดเจนกว่า
รวมถึงถ้าผู้บริหารมีความรู้ความเข้าใจจากการที่ได้นำมาใช้งานจริงแล้ว
เมื่อถึงเวลานำไปใช้กับพนักงานในระดับอื่นๆ ก็จะทำให้ง่ายขึ้น
เพราะผู้บริหารแต่ละหน่วยงานสามารถชี้แนะให้กับลูกน้องของตัวเองได้ บางองค์กรอาจจะนำระบบฯใหม่ไปใช้ควบคู่กับระบบเก่าเพื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นก็ได้
6. ปรับปรุงแก้ไขระบบ ในระหว่างที่นำไปทดลองใช้ควรจะกำหนดประเด็นต่างๆที่ต้องการตรวจสอบให้ชัดเจน
และควรจะมีการติดตามผลเพื่อรับทราบถึงปัญหาอุปสรรคเป็นระยะๆ
เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา
7. สื่อสาร/ฝึกอบรมให้พนักงานได้รับทราบ ก่อนที่จะนำระบบการบริหารผลงานไปใช้ทั่วทั้งองค์กร
ควรจะมีการทำความเข้าใจกับพนักงานทุกคนว่าระบบนี้มีผลดีต่อตัวพนักงาน
ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง พนักงานต้องเตรียมตัวอย่างไร
และต้องพยายามให้พนักงานเปลี่ยนทัศนคติจากการประเมินผลงานของแต่ละบุคคลไปสู่การบริหารผลงานของหน่วยงานและองค์กร
หน่วยงานใดสามารถออกแบบผลตอบแทนให้เชื่อมโยงกับผลงานได้ก็จะเป็นการดีที่จะได้ถือโอกาสชี้แจงพนักงานไปในคราวเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น