วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

What did I really learn on 24 December 2011 ?



                                                                                             บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ

1.การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
1.1 มีการกระทำ
1.2 ครบองค์ประกอบภายนอก
- ผู้กระทำ
- การกระทำ
- วัตถุแห่งการกระทำ
1.3 ครบองค์ประกอบภายใน
1.4 ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำ

2.การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด การยกเว้นมีหลายกรณีคือ
ยกเว้นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 68,213,305,329,331
ยกเว้นความผิด ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา มีหลักว่า
ไม่มีความผิดไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้” มาตรา ห้ามนำมาใช้เพื่อเป็นผลร้ายเว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าใช้เพื่อเป็นคุณนำมาใช้ได้ถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไป
ฎ : 1403/08 ความยินยอมถ้าไม่ขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดีสามารถยกเว้นความผิดได้โดยถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป
จารีตประเพณีก็ถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปยกเว้นความผิดได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง จารีตให้อำนาจครูตีนักเรียนได้ เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
ฎ : 429-30/2505 ภิกษุมีอำนาจลงโทษเด็กวัดได้ยกเว้นอยู่ในรัฐธรรมนูญ (ม. 157 ว.1)ยกเว้นอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ม. 1347, 452, 1567(2),395,450) อำนาจตามสัญญาบางครั้งก็ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดอาญาฐานบุกรุกถือว่ามีอำนาจที่จะทำได้ตามสัญญา
ฎ : 1/12 วินิจฉัยว่าเป็นบุกรุก การที่จำเลยใช้ไม้กระดานตีทางทับประตูห้องที่โจทก์ครอบครองอยู่ในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และปิดประตูห้องไว้ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจครอบครองของโจทก์ ถือเป็นการรบกวนการครอบครองตาม ปอ.ม.362ถ้ามีข้อตกลงในปัญหาก็ไม่เป็นบุกรุก
ฎ : 4854/37 หนังสือเช่าระบุไว้ชัดเจนว่าให้อำนาจผู้ให้เช่ากระทำได้ก็ไม่ผิดบุกรุกยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ม.78(3),83)
ฎ : 699/02 เจ้าพนักงานผู้จับยิงยางล้อรถยนต์ของคนร้ายจนบางแตกเพื่อให้รถหยุดจะได้จับกุมคนบนรถเป็นการกระทำที่พอเหมาะพอควรแก่การจับมีอำนาจทำได้ ตาม ปอ.มาตรา83 ไม่ผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358

สรุปหลัก คือ ถ้าผู้กระทำมีอำนาจทำได้ตาม 5 ข้อข้างต้น การกระทำนั้นจะไม่เป็นความผิดทางอาญา

3.การกระทำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
3.1 ยกเว้นโทษมีหลายกรณี คือ
- จำเป็น มาตรา 67
เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ทำผิด มาตรา 73
เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ทำผิด มาตรา 74
คนวิกลจริตทำผิด มาตรา 65
คนเมาทำผิด มาตรา 66
ทำตามคำสั่งที่มิชอบของเจ้าพนักงาน มาตรา 70
ทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างสามีภริยา มาตรา 71
3.2 เหตุลดโทษอยู่นอกโครงสร้างการรับผิดทางอาญา คือไม่ได้รับยกเว้นแต่ได้รับการลดโทษ ซึ่งเป็น
ดุลพินิจของศาล มีดังนี้
บันดาลโทสะ มาตรา 72
ความไม่รู้กฎหมาย มาตรา 64
คนวิกลจริตซึ่งรู้ผิดชอบอยู่บ้าง มาตรา 65 ว.2
คนมึนเมาซึ่งรู้ผิดชอบอยู่บ้าง มาตรา 66
ผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างญาติสนิท มาตรา 71 ว.2
เหตุบรรเทาโทษ มาตรา 78
ผู้ทำผิดอายุกว่า 14 ปี ไม่เกิน 17 ปี มาตรา 75
ผู้ทำผิดอายุกว่า 17 ปี ไม่เกิน 20 ปี มาตรา 76






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น